ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับต้นทุนเงินทุนของ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Title
ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับต้นทุนเงินทุนของ บริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Publication Date
2019-07
Author(s)
เสมอจิตร, อุทัยวรรณ
มอสส, สุภาวดี สุขีชีพ
( author )
OrcID: https://orcid.org/0000-0001-9535-9283
Email: ssukeec2@une.edu.au
UNE Id une-id:ssukeec2
Type of document
Journal Article
Language
other
Entity Type
Publication
Publisher
Rangsit University
Place of publication
Bangkok, Thailand
DOI
10.14456/jrgbsrangsit.2019.24
UNE publication id
une:1959.11/55388
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับต้นทุนเงินทุน ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ตัวแปรต้นคือ ผู้ถือหุ้นที่เป็นธุรกิจครอบครัวผู้ถือหุ้นที่เป็นบริหาร ผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันการเงิน ผู้ถือหุ้นที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ ส่วนตัวแปรตามคือ ต้นทุนเงินทุน ที่ใช้วิธีคานวณจากแบบจาลองการกาหนดราคาหลักทรัพย์ (CAPM) และมีตัวแปรควบคุมคือ ขนาดของกิจการ และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลของทดสอบสมมติฐานพบว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบครอบครัว (FO) มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติกับต้นทุนเงินทุน ซึ่งอธิบายได้ว่าการที่บริษัทมีผู้ถือหุ้นแบบครอบครัวมีอานาจในการบริหารกิจการ เนื่องจากมีผู้บริหารและเจ้าของที่มาจากครอบครัวเดียวกัน ทาให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการดาเนินธุรกิจที่คานึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเป็นหลัก จึงทาให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจว่าความเสี่ยงในการลงทุนผิดพลาดจะลดลง และเมื่อความเสี่ยงในการลงทุนของกิจการน้อยลง ก็จะทาให้นักลงทุนเรียกร้องผลตอบแทนน้อยลง จึงเป็นสาเหตุให้ต้นทุนของเงินลงทุนของกิจการน้อยลงตามไปด้วย และพบว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เป็นหน่วยงานของรัฐ (GO) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับต้นทุนเงินทุน ซึ่งการเป็นเจ้าของโดยรัฐบาล จะเกิดแรงขับเคลื่อนต่าง ๆ เช่นแรงจูงใจในการจัดหาเงินทุน ดังนั้นหากกิจการใดมีผู้ถือหุ้นที่เป็นรัฐบาลมากก็จะทาให้ได้รับความเชื่อถือและความไว้ใจจากนักลงทุน จึงทาให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุน จะเป็นผลทาให้ต้นทุนของเงินลงทุนของกิจการลดลง ส่วนตัวแปรต้นอื่นๆ เช่นผู้ถือหุ้นที่เป็นบริหาร (MO) ผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบัน (IO) และผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างชาติ (ForO) พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับต้นทุนเงินทุน
Abstract
The objective of this study is to examine the relationship between ownership structures and cost of equity capital. Independent variables namely; family ownership, managerial ownership, institutional ownership, government ownership, and foreign ownership are used in this study. Also, cost of equity capital which is measured from CAPM model is used as a dependent variable. Furthermore, firm sizes and return on asset ratio are applied as control variables. The research methodology contains the descriptive statistics and multiple regression analysis to examine the relationship among factors. The results of this study reveal that family ownership is negatively associated with cost of equity capital. This result suggests that family shareholders have a strong power to influence company. This is because shareholders that come from the same family are likely to work as a team in order to enhance firm performance and have a better monitoring function which consequently reduce cost of equity capital of the firm. This study also finds that government ownership is also negatively associated with cost of equity capital. This result suggests that investors trust government and their monitoring process which are reducing in cost of equity capital. Apart from these, managerial ownership, institutional ownership and foreign ownership have no relationship with cost of equity.
Link
Citation
Journal of Rangsit Graduate Studies in Business and Social Sciences, 5(2), p. 103-114
ISSN
2465-4094
Start page
103
End page
114

Files:

NameSizeformatDescriptionLink